การออม การลงทุน

Tips ไม่ลับ รวมเทคนิคลดหย่อนภาษีปี 65

12/04/2565

สำหรับมนุษย์ออฟฟิศแบบเราอีกหนึ่งภารกิจที่ต้องทำทุกต้นปีก็คือการยื่นภาษีนั่นเอง
ซึ่งทุกคนก็น่าจะรู้กันดีอยู่แล้วว่าเราจะได้รับการลดหย่อนภาษีจากช่องทางต่าง ๆ ตามที่สรรพากรกำหนด แต่การจะได้ลดหย่อนมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับเทคนิคจัดการภาษีของแต่ละคนด้วยเช่นกัน
 
วันนี้เราจึงมีเทคนิคดี ๆ ที่จะช่วยให้คุณวางแผนภาษีในปีนี้ แล้วจ่ายภาษีลดลงในปีหน้า 
แถมบางทีอาจจะมีเงินคืนอีกด้วย มีเทคนิคอะไรบ้างไปดูกันเลย 

วิธีคำนวณรายได้และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คลิก

เทคนิคที่ 1 รู้จักแหล่งที่มาของรายได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี


รายได้ คือเงินหรือทรัพย์สินที่เราได้รับจากการทำกิจกรรมหรือกิจการต่างๆ  
ซึ่งมีทั้งเงินได้ที่ต้องนำมาเสียภาษี หรือที่เรียกว่า ‘รายได้พึงประเมิน’ 8 ประเภท และเงินได้อื่น ๆ ที่ได้รับการยกเว้นภาษี เช่น
  • เงินที่ได้รับจากบุพการีตามประเพณีไม่เกิน 20 ล้านบาท
  • เงินได้รับจากบุคคลอื่นตามประเพณีไม่เกิน 10 ล้านบาท
  • เงินที่ได้จากการถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลหรือสลากออมสิน
  • เงินทดแทนจากประกันประเภทต่าง ๆ 
  • เงินค่าบำเน็จบำนาญของข้าราชการ
  • เบี้ยยังชีพคนพิการและผู้ที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป
  • กำไรจากการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์

ซึ่งเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นเหล่านี้ หากเราสับสนและนำมารวมกับรายได้พึงประเมินอื่น ๆ 
อาจจะให้เราต้องเสียภาษีเพิ่มเติมโดยไม่จำเป็นได้ 
ดังนั้นก่อนยื่นภาษีเราควรตรวจสอบให้มั่นใจว่ารายได้ที่เรายื่นต่อสรรพากรไม่มีส่วนที่ได้รับการยกเว้นติดมาด้วย 

เทคนิคที่ 2  รู้จักรายการลดหย่อนภาษี

 

การลดหย่อนภาษีคือรายการสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่กฎหมายอนุญาติให้นำมาหักลบกับรายได้ต่อปีเพื่อให้เราจ่ายภาษีน้อยลงนั่นเอง โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนง่าย ๆ ตามนี้เลย

1.ค่าลดหย่อนกลุ่มภาระชีวิต
ผู้ที่มีค่าใช้จ่ายส่วนตัวและครอบครัว โดยปกติแล้วจะได้ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท 
และสำหรับคนที่มีภาระครอบครัว เช่น คุณพ่อคุณแม่ คู่สมรส หรือบุตร 
ก็สามารถขอลดหย่อนได้เพิ่มเติมตามอัตราดังนี้

ลดหย่อน ‘เงินบริจาค’ เพิ่มเติม

นอกเหนือจากการลดหย่อน 3 กลุ่มหลัก สามารถนำเงินที่ต้องเสียภาษี (เงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและรายการลดหย่อนอื่น ๆ) มาลดหย่อนด้วยเงินบริจาคเพิ่มเติมได้อีกด้วย โดยเงินบริจาคมีทั้งหมด 2 ประเภท คือเงินบริจาคทั่วไปและเงินบริจาคแบบ 2 เท่า

1. เงินบริจาคทั่วไป สามารถลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% 
ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
2. เงินบริจาคแบบ 2 เท่า คือชื่อเล่นของเงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ ซึ่งสามารถลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน


เทคนิคที่ 3 มองหาตัวช่วยลดหย่อนภาษี


1. แผนประกันชีวิตที่น่าสนใจ
เพราะค่าเบี้ยประกันชีวิตของตนเองสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดถึง 100,000 บาท/ปี สำหรับประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป

อย่าง FWD Easy E-LIFE แผนประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองนาน 10 ปี ด้วยวงเงินประกัน 1,000,000 บาท แต่จ่ายเบี้ยในหลักพัน ช่วยลดหย่อนภาษีและคุ้มครองชีวิตของคุณไปพร้อม ๆ กัน

ค้นหาประกันชีวิตที่ช่วยลดหย่อนภาษี คลิก

2. ประกันสุขภาพตนเอง
ส่วนใครที่มีประกันชีวิตอยู่แล้ว ก็สามารถหาแผนประกันสุขภาพดี ๆ มาลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมได้ เพราะรายการประกันสุขภาพตนเองสามารถลดหย่อนภาษีได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท/ปี และรวมกับประกันชีวิตแล้วไม่เกิน 100,000 บาท/ปี 

ประกันสุขภาพที่น่าสนใจอย่าง ประกัน FWD Prima Care แผนประกันสุขภาพที่พร้อมดูแลค่าใช้จ่ายเมื่อต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล และคุ้มครองค่ารักษาต่อเนื่องหลังออกจากโรงพยาบาล หรือ ประกัน FWD OPD Plus ที่ช่วยคุณแบ่งเบาค่ารักษาในกรณีผู้ป่วยนอก เจ็บป่วยฉุกเฉิน หรือยามที่คุณต้องการ

ค้นหาประกันสุขภาพไว้ลดหย่อนภาษี คลิก

3. เข้าร่วมกองทุน กบข. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
กองทุนเหล่านี้จะเป็นกองทุนที่เมื่อเราลงทุนไปแล้ว องค์กรที่เราทำงานอยู่จะช่วยสมทบเงินเข้าไปเพิ่มเติมจากเงินที่เราลงทุนไปในอัตราที่องค์กรกำหนด โดยการเข้าร่วมกองทุนเหล่านี้สามารถลดหย่อนภาษีได้ในอัตราตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15 % ของเงินที่ต้องเสียภาษีแต่ไม่เกิน 500,000 บาท 

4. ซื้อกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) หรือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) 
กองทุน SSF หรือกองทุนรวมเพื่อการออมระยะยาว 
คือกองทุนที่สนับสนุนให้ประชาชนออมเงินในระยะยาว โดยจะต้องถือครองอย่างน้อย 10 ปี และสามารถนำมาหักภาษีได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีและไม่เกิน 200,000 บาท 

ส่วนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) คือกองทุนที่สนับสนุนในประชาชนมีเงินออมหลังเกษียณ โดยกองทุนประเภทนี้จะต้องถือครองจนถึงอายุ 55 ปี แต่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 500,000 บาท

เทคนิคที่ 4 ข้อควรระวัง

 

1. ประกันบางประเภทไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
ตามเงื่อนไขจากกรมสรรพากร ประกันที่นำมาลดหย่อนภาษีได้จะต้องเป็นประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพที่ทำกับบริษัทประกันในประเทศไทยเท่านั้น โดยประกันชีวิตจะต้องที่มีระยะเวลาคุมครอง 10 ปีขึ้นไป และในกรณีที่มีปันผลหรือผลตอบแทน จะต้องได้รับปันผลไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันเท่านั้น 

ซึ่งแผนประกันที่มีเงื่อนไขนอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ เช่น ประกันรถยนต์ ประกันวินาศภัย หรือประกันการเดินทาง จะไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจซื้อประกันมาลดหย่อนภาษี เราจะต้องทำความเข้าใจ และสอบถามบริษัทประกันให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจซื้อ

2. กองทุนที่ไม่สามารถลดหย่อนภาษีได้แล้ว
โดยปกติแล้วรายการลดหย่อนภาษีจะถูกปรับเปลี่ยนอยู่เรื่อย ๆ ตามนโยบายรัฐที่เปลี่ยนไป ทำให้มีกองทุนบางประเภทที่ไม่ได้มีอยู่รายการลดหย่อนภาษีในปี 65 แล้ว
  • กองทุนส่งเสริมการออม (SSFX) ที่เป็นมาตการพิเศษของรัฐบาลในช่วงปี 2564 ซึ่งไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้แล้วในปีนี้
  • กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) เป็นกองทุนที่เน้นส่งเสริมการลงทุนในหุ้น ซึ่งกองทุนนี้ก็เอาออกจากรายการลดหย่อนภาษีไปตั้งแต่ปี 2563

 

ดังนั้นถ้าใครยังมีกองทุนเหล่านี้อยู่ในมือ ก็ไม่ต้องสงสัยหากเข้าไปยื่นภาษีแล้วไม่สามารถลดหย่อนในส่วนนี้ได้เหมือนเดิม หรือถ้าใครถือจนครบกำหนดแล้วก็สามารถโยกเงินไปลงทุนในกองทุนอื่นได้เลย โดยไม่ต้องกังวลเรื่องหักภาษีอีกต่อไป

นอกจากเทคนิคทั้ง 4 ข้อที่เราเอามาฝากแล้ว การศึกษารายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติมก็จำเป็นเช่นกัน เพื่อให้การวางแผนภาษีของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยลดภาษีที่ต้องจ่ายในปีหน้าได้แน่นอน

อ้างอิง
- ค่าลดหย่อนภาษีรายได้บุคคลธรรมดา - iTAX
- เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี - iTAX 
- ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนอะไรได้บ้าง? – กรมสรรพากร

tax-deduction-tips2.webp
2.ค่าลดหย่อนกลุ่มนโยบายภาครัฐ
เป็นนโยบายของรัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ โดยแต่ละปีจะมีรายการการลดหย่อนที่แตกต่างกัน ซึ่งในปี 2565 ผู้เสียภาษีสามารถลดหย่อนจากกลุ่มนโยบายรัฐได้ดังนี้
tax-deduction-tips3.webp
3.ค่าลดหย่อนกลุ่มการออมเงินและการลงทุน
สำหรับใครที่ต้องจ่ายค่าเบี้ยประกัน เงินประกันสังคม และซื้อกองทุนตามรายการต่อไปนี้ ก็สามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้ตามอัตราที่กฎหมายกำหนดเช่นกัน
 
tax-deduction-tips4.webp

แบบประกันแนะนำสำหรับคุณ