การออม การลงทุน

5 คำตอบที่ใช่ สำหรับผู้ที่ยื่นภาษีแล้วได้เงินคืนเต็ม Max

FWD Thailand

มีคนบอกว่าการยื่นภาษีนั้น เป็นหน้าที่ของเราทุกคน เมื่อเราทำงานรับเงินเดือน หรือมีรายรับจากการประกอบอาชีพต่าง ๆ เราก็จำเป็นต้องทำการยื่นภาษีเพื่อแสดงรายได้ตามที่กรมสรรพากรกำหนด อีกทั้งการเสียภาษีนั้น ยังเป็นการที่จะช่วยทำให้เราสามารถดำเนินการด้านธุรกรรมต่าง ๆ เช่น การขอกู้เงิน การขอสินเชื่อ ในอนาคตได้  แต่เงินที่เราจ่ายไปก็ใช่ว่าจะสูญเปล่า เพราะเราก็ยังสามารถขอคืนเงินที่ได้เสียภาษีไปแล้วกลับคืนได้ จากการใช้สิทธิ์เพื่อลดหย่อนตามที่กรมสรรพากรได้กำหนด ซึ่งทุกคนสามารถทำได้ วันนี้เราจึงมี 5 เรื่องที่ต้องรู้ ในการช่วยให้ผู้ที่ยืนภาษีได้รับเงินคืนแบบเต็ม Max



 1. ต้องมีเงินเดือนเท่าไหร่ถึงต้องยื่นภาษีตามระบบ


ก่อนที่เราจะไปถึงขั้นตอนการยื่น และ ขอคืนภาษีนั้น เราต้องเช็กตัวเองก่อนว่ารายรับของเรานั้น อยู่ในขั้นใดของการเสียภาษี เพราะจากข้อมูลของกรมสรรพากร ได้กำหนดไว้ว่า ผู้ที่จะต้องเสียภาษีนั้น ต้องมีรายได้สุทธิต่อปี เกิน 150,000 บาท โดยสามารถใช้สูตรการคำนวณได้ดังนี้  >>> เงินได้ - ค่าใช้จ่าย - ลดหย่อน = เงินได้สุทธิ


ยกตัวอย่าง เช่น

• ถ้าเงินเดือนไม่เกิน 26,583.33 บาท ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี

• ถ้าเงินเดือนเกิน 26,583.33 บาท ต้องยื่นภาษีและเสียภาษี

และเมื่อเรารู้ตัวเองแล้วว่ารายได้เกิน 150,000 บาท และจะต้องเสียภาษีก็ให้ดูต่อว่าเราต้องเสียภาษีในขั้นไหนตามข้อมูลในตารางนี้ 

abouttax04.png

  2. ยื่นภาษีให้ตรงเวลา

ในช่วงต้นปีประมาณเดือน ม.ค. - มี.ค.  ทางกรมสรรพากรจะมีการเปิดระบบให้สามารถยื่นภาษีได้ เราก็สามารถเข้าไปทำการยื่นภาษีตามรอบปีที่กำหนดได้ ยิ่งใครที่ยื่นข้อมูลภาษีได้เร็ว ก็จะยิ่งได้รับเงินคืนเร็ว ส่วนใครที่สายชิลล์ มายื่นเอาใกล้ๆ วันก่อนปิดระบบ ก็อาจจะต้องรอคิวในการคืนภาษีนานหน่อย รวมทั้งก็อาจจะมีบางคนที่หลงลืม ยื่นภาษีไม่ทันตามที่กำหนด ก็อาจจะโดน เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ซึ่งถือว่าเป็นบทลงโทษเกี่ยวกับภาษีอย่างหนึ่ง และอาจมีโทษทางอาญาด้วย โดยมีข้อมูลจากกรมสรรพากรระบุไว้ว่า หากบุคคลใดยื่นแบบฯ ภายในกำหนดแต่ชำระภาษีไม่ครบถ้วน หรือยื่นแบบฯ ล่าช้า ละเลย หรือหลีกเลี่ยงการยื่นแบบฯ จะต้องเสียเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตามกฎหมายกำหนด และหากฝ่าฝืนไม่ยอมชำระ ก็ต้องรับโทษทางอาญาด้วย

abouttax03.jpeg

  3. ลดหย่อนพื้นฐานที่เรามีสิทธิเต็มที่

ในการยื่นภาษีนั้น จะมีส่วนหนึ่งที่เรียกว่าค่าลดหย่อนและยกเว้น ถือเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่ต้องนำมาใช้ในการคำนวณภาษี โดยการนำไปหักออกจากเงินได้ อีกครั้งหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว โดยมีการหักลดหย่อนกรณีต่าง ๆ แตกต่างกันออกไป อาทิ

  • ลดหย่อนคู่สมรส คนมีคู่หักไปได้อีก ไม่เกิน 60,000 บาท ฮิ้ววก็ต้องรีบหาคู่มาชูชื่นกันแล้วแหละ เพราะมันลดหย่อนภาษีได้
  • ลดหย่อนสำหรับบุตร แบ่งเป็น 2 ขั้นดังนี้

            •  ลูกคนแรก ลดหย่อนได้ 30,000 บาท

            •  ลูกคนที่ 2 เป็นต้นไป ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท

  • ลดหย่อนบิดา มารดา สำหรับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปและไม่มีรายได้ ไม่เกิน 30,000 บาท คุณลูกๆ ที่ดูแลได้สิทธิแค่คนเดียวเท่านั้นนะ
  • เงินสมทบประกันสังคม หักค่าลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริง
abouttax01.jpeg
  4. ประกันที่ใช่สำหรับการลดหย่อนภาษี
ส่วนนี้แหละที่สำคัญ ในการที่คุณจะสามารถนำส่วนที่ลดหย่อนได้นั้น มาใช้มองหาเครื่องมือที่จะช่วยลดหย่อนภาษีของคุณได้ ซึ่งประกันที่สามารถนำไปลดหย่อนได้นั้น ก็จะมีดังนี้
- ประกันสุขภาพของพ่อแม่ ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,000 บาท แนะนำให้ทำประกันเอฟดับบลิวดี พรีเชียส แคร์ พร้อมดูแลครอบคลุมทุกค่ารักษา ด้วยผลประโยชน์แบบเหมาจ่าย เริ่มต้น 1 ล้านบาท สูงสุด 100 ล้านบาท 
- ประกันสุขภาพของตนเอง ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท แนะนำเป็น ประกันโรคร้ายแรง BIG 3 คุ้มครองครอบคลุม 3 กลุ่มโรคร้ายแรง โรคมะเร็ง กลุ่มโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด กลุ่มโรคเกี่ยวกับสมองและระบบประสาท เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น 1 ใน 3 กลุ่มโรคร้ายแรง รับเงินก้อนตามแพ็กเกจความคุ้มครองที่เลือก 200,000 ถึง 1,000,000 บาท เหมาะสมกับหน้าที่และตำแหน่งที่รับผิดชอบ
Easy E-SAVE 10/5 ประกันสะสมทรัพย์ออนไลน์ จากเอฟดับบลิวดี ให้ผลตอบแทนสูง ลดหย่อนภาษีได้ รับเงินคืนแน่นอนที่ 4% ของทุนประกันภัยในสิ้นปีกรมธรรม์ที่ 1-5 และสิ้นปีที่ 6-9 รับเงินคืน 5% ของทุนประกัน รับเงินคืน 350% ของทุนประกันภัยเมื่อครบกำหนดสัญญาในปีกรมธรรม์ที่ 10
Easy E-Retire 90/5 ประกันบำนาญออนไลน์ ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บาท (ไม่รวมเบี้ยประกันชีวิตของแผนประกันอื่นๆ) เลือกได้จะเกษียณเร็วหรือช้า รับเงินบํานาญทุกปีถึงอายุ 90 ปี รับเงินบํานาญเพิ่มขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น สูงสุด 28% ของทุนประกันภัย
เอฟดับบลิวดี ฟอร์ เพนชัน ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บาท (ไม่รวมเบี้ยประกันชีวิตของแผนประกันอื่นๆ) เลือกได้จะเกษียณเร็วหรือช้า รับเงินบํานาญทุกปีถึงอายุ 85 ปี รับเงินบํานาญเพิ่มขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น สูงสุด 24% ของทุนประกันภัย

  5. เงินบริจาคที่ลดหย่อนภาษีได้เต็มที่
ในส่วนของการใช้เงินบริจาคเพื่อนำไปลดหย่อนนั้น สามารถใช้เงินที่บริจาคได้ตามเงื่อนไข ดังนี้ 
- เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ 2 เท่าของเงินบริจาคตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
- เงินบริจาคทั่วไป ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน


การยื่นภาษีให้ได้เงินคืนแบบเต็ม Max นั้นสามารถทำตามกันได้ทุกคน มาลองเริ่มกันดูในการยื่นภาษีที่กำลังจะมาถึงนี้กันเลย 

แบบประกันแนะนำสำหรับคุณ