สุขภาพและกีฬา

4 เรื่องอาหารน่ารู้ แฮปปี้แม้วันอากาศร้อน

เพราะเมืองไทยอากาศร้อนเป็นส่วนใหญ่ เรียกว่า 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูร้อนมาก ฤดูร้อนสุดๆ ก็ไม่ผิด แต่เพื่อให้เรายังแฮปปี้ได้แม้ในวันอากาศร้อน ก็คือการดูแลสุขภาพของตัวเอง โดยเฉพาะการดูแลในส่วนของอาหารการกิน ที่ถ้ากินอย่างระวัง ก็จะช่วยป้องกันโรคต่างๆ เกี่ยวกับลำไส้ในการรับประทานอาหารได้ โดยเฉพาะโรคอาหารเป็นพิษ และโรคอุจจาระร่วง ที่ในปี 2563 มีคนป่วยรวม 915,289 ราย (*ข้อมูลจาก กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค)

เพื่อให้แฮปปี้เรื่องกินได้ยาวๆตลอดทั้งปี แค่ทำตามทริคนี้ ก็ช่วยให้ลดความเสี่ยงจากการกินอาหารในช่วงวันอากาศร้อนได้

1. เช็กความสะอาดของอาหาร

summer_food2.jpg
สำหรับสาย Cooking เข้าครัวเอง นอกจากการเลือกอาหารที่สดใหม่แล้ว การนำมาล้างทำความสะอาดอย่างถูกต้องก็สำคัญไม่แพ้กัน 
ทริคการเลือกซื้อพืชผักได้ง่ายๆ
- เลือกซื้อผักและผลไม้ที่มีสีตามธรรมชาติ ไม่ฉูดฉาด ไม่มีคราบดินหรือคราบสีขาวของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ไม่มีจุดราดำหรือเชื้อราต่างๆ รวมถึงกลิ่นที่ฉุนผิดปกติ
- เลือกซื้อผักสดที่มีรูเจาะ มีรอยกัดแทะของหนอนหรือแมลงอยู่บ้าง หรือควรเลือกผักและผลไม้ที่มีตัวหนอนอยู่บ้าง หรือมีแมลงเดินอยู่เล็กน้อย เช่น มด เพลี้ย เป็นต้น 
- ถ้าเป็นผักและผลไม้ในห้างสรรพสินค้า ควรเลือกซื้อที่มีการแสดงฉลากที่ถูกต้อง เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของผักและผลไม้ได้ เช่น ตรวจสอบจากเลขสถานที่ผลิต หรือนำเข้าอาหารได้
- เลือกซื้อผักและผลไม้ตามฤดูกาล เพราะผักที่ปลูกได้ตามฤดูกาลจะมีโอกาสเจริญเติบโตได้ดีกว่านอกฤดูกาล ทำให้ลดการใช้สารเคมีและปุ๋ยลง
- เลือกซื้อผักพื้นบ้านตามถิ่นที่อยู่อาศัยนั้นๆ หรือกินผักที่ปลูกเองได้ง่ายๆ เช่น กะเพรา ผักชี ผักบุ้ง ต้นหอม เป็นต้น
- ไม่ซื้อผักชนิดใดชนิดหนึ่งมากินเป็นประจำ ควรกินให้หลากหลายชนิดสับเปลี่ยนกัน เพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน และหลีกเลี่ยงการได้รับสารพิษหรือสารเคมีสะสม

การล้างผักและผลไม้ได้ง่ายๆ

วิธีที่ 1 การใช้ผงฟู (baking soda)
- ใช้ผงฟู (baking soda) ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ละลายในน้ำอุณหภูมิปกติ 20 ลิตร
- แช่ผักและผลไม้ทิ้งไว้ เป็นระยะเวลา 15 นาที
- ล้างผักและผลไม้ออกด้วยน้ำสะอาด
- วิธีนี้จะช่วยลดปริมาณสารเคมีตกค้างได้ 80 – 95%

วิธีที่ 2 การใช้น้ำไหลผ่าน
- เด็ดผักออกเป็นใบๆ
- ล้างด้วยน้ำสะอาดไหลผ่านอย่างต่อเนื่อง และใช้มือถูเบาๆ
- วิธีนี้จะช่วยลดปริมาณสารเคมีตกค้างได้ 54 – 63%

วิธีที่ 3 การใช้ด่างทับทิม
- ใช้ด่างทับทิมปริมาณ 20 – 30 เกล็ด ละลายในน้ำอุณหภูมิปกติ 4 ลิตร
- แช่ผักและผลไม้ทิ้งไว้ เป็นระยะเวลา 10 นาที
- ล้างผักและผลไม้ออกด้วยน้ำสะอาด
- วิธีนี้จะช่วยลดปริมาณสารเคมีตกค้างได้ 35 – 45%

วิธีที่ 4 การใช้น้ำส้มสายชู
- ใช้น้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำอุณหภูมิปกติ 4 ลิตร
- แช่ผักและผลไม้ทิ้งไว้ เป็นระยะเวลา 10 นาที
- ล้างผักและผลไม้ออกด้วยน้ำสะอาด
- วิธีนี้จะช่วยลดปริมาณสารเคมีตกค้างได้ 29 – 38%

วิธีที่ 5 การใช้เกลือ
- ใช้เกลือป่นปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำอุณหภูมิปกติ 4 ลิตร
- แช่ผักและผลไม้ทิ้งไว้ เป็นระยะเวลา 10 นาที
- ล้างผักและผลไม้ออกด้วยน้ำสะอาด
- วิธีนี้จะช่วยลดปริมาณสารเคมีตกค้างได้ 27 – 38%

2.หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง
 
summer_food4.jpg
อาหารไขมันสูงส่วนใหญ่มักเป็นอาหารที่ย่อยยาก จะทำให้กระเพาะอาหาร และลำไส้ทำงานหนัก และที่สำคัญเมื่อระบบการเผาผลาญทำงานหนักจะส่งผลให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น จึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงสิ่งดังต่อไปนี้
- เนื้อสัตว์ติดมัน – อย่างเช่น เนื้อหมูสามชั้น เนื้อวัว สันคอหมู จะเป็นส่วนที่ร่างกายต้องใช้เวลาการย่อยนาน อีกทั้งยังไม่สามารถย่อยได้หมด ทำให้รบกวนระบบการย่อยอาหาร
- อาหารประเภททอด – ที่มีการใช้น้ำมันปริมาณมากจะทำให้ระบบย่อยอาหาร และกระเพาะทำงานหนักยิ่งขึ้น
- อาหารประเภทเนย และครีม – ที่มักจะใช้ทำขนมซึ่งส่วนประกอบมักจะมีไขมันททรานส์ ที่นอกจากจะย่อยยากแล้วยังทำให้มีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดได้อีกด้วย

3.
รับประทานอาหารที่ปรุงสุก 
summer_food3.jpg
เพราะเชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดีในหน้าร้อน วิธีที่ดีที่สุดคือการรับประทานอาหารที่เพิ่งปรุงสุกใหม่ๆ และในการปรุงอาหาร ควรปรุงให้สุกอย่างทั่วถึงด้วยอุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส และสำหรับอากาศที่ร้อนแบบนี้ อาหารจะสามารถอยู่ในอุณหภูมิห้องได้ไม่เกิน 2-4 ชั่วโมง แต่ถ้าอาหารที่ปรุงสุกเป็นอาหารที่อาจบูดเสียได้ง่าย ควรรับประทานให้หมดภายใน 2 ชั่วโมง ถ้าหากเรายังไม่พร้อมรับประทานในเวลานั้น ควรเก็บในอุณหภูมิ 5-10 องศาเซลาเซียส และนำมาอุ่นให้ร้อนก่อนนำมารับประทาน ให้ได้อุณหภูมิประมาณ 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป นาน 2 นาที เพื่อให้อาหารร้อนทั่วถึง

4.
การเก็บรักษาอาหารในตู้เย็น 
summer_food5.jpg

การรักษาอาหารที่เก็บในตู้เย็น เพื่อเป็นการรักษาความสะอาด จึงควรใส่อาหารในภาชนะที่มีฝาปิด โดยแยกระหว่างอาหารที่ปรุงสุก กับอาหารสด

การเก็บอาหารสด

    • เนื้อสัตว์ ก่อนเก็บต้องนำมาล้างทำความสะอาด หรือหั่นเพื่อพร้อมใช้ และแบ่งให้พอใช้สำหรับตัดแต่งเพื่อแบ่งเป็นส่วน ๆ เพื่อให้พอใช้สำหรับ 1 ครั้ง เพื่อที่จะได้ไม่ต้องนำเข้านำออกจากตู้เย็นบ่อย ๆ เพราะยิ่งอุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ ยิ่งทำให้อายุการเก็บสั้นลง อุณหภูมิในการจัดเก็บควรอยู่ที่ 0-2 องศาเซลเซียส และเก็บในภาชนะที่ฝาปิดมิดชิด หรือแช่ในช่องแช่แข็งก็จะเก็บได้ยาวนานขึ้น (เฉลี่ยประมาณ 3-6 เดือน) และหากนำอาหารจากช่องแช่แข็งออกมาละลายเพื่อใช้แล้ว แต่ใช้ไม่หมดไม่แนะนำให้นำกลับไปแช่แข็งใหม่ซ้ำอีกรอบ

    • ผักสด กรณีล้างทำความสะอาดก่อนเก็บ จะต้องผึ่งให้แห้ง จากนั้นเก็บใส่ภาชนะที่รองด้วยกระดาษทิชชู่ หรือผ้าขาวบาง และมีฝาปิดมิดชิด เพราะถ้าล้างแล้วผึ่งไม่แห้งจะทำให้เกิดการเน่าเสียได้ง่าย กรณีถ้าเก็บแบบไม่ล้างก่อนเก็บ เมื่อนำมาใช้ต้องล้างทำความสะอาดก่อนนำมาใช้ และผักทุกชนิดควรเก็บแยกประเภท ไม่ควรเก็บรวมในภาชนะเดียวกัน

การเก็บอาหารปรุงสุก

    • อาหารที่ผ่านการปรุงสุกแล้ว ควรทำให้อุณหภูมิลดลง ภายใน 2 ชั่วโมง เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย การปล่อยให้อาหารเย็นตัวลงเองตามอุณหภูมิห้อง จะทำให้การเก็บอาหารที่ปรุงสุกแล้วมีอายุการเก็บที่สั้นลง เพราะจุลินทรีย์ส่วนใหญ่เจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนได้เร็วที่อุณหภูมิ 4-60 องศาเซลเซียส การแบ่งอาหารออกใส่ภาชนะย่อย ๆ จะช่วยทำให้อาหารเย็นเร็วขึ้น และสามารถแบ่งเก็บแช่ตู้เย็นไว้ทานในมื้ออื่น ๆ ได้ หรือแช่ภาชนะบรรจุอาหารลงในน้ำเย็นจัดก็สามารถช่วยลดอุณหภูมิได้เร็วเช่นกัน เมื่อลดอุณหภูมิอาหารแล้ว สามารถเก็บในตู้เย็นช่องธรรมดาได้ 3-4 วัน แต่ทางที่ดีควรทานให้หมดภายใน 2 วัน เก็บแช่ในช่องแช่แข็งได้นาน 3-4 เดือน แต่ว่ารสชาติ หรือลักษณะของอาหารอาจจะเปลี่ยนไป อาจจะไม่อร่อย เนื้อสัมผัสอาจจะแห้ง แข็งกระด้าง แต่ว่าสามารถทานได้ปลอดภัย

สำหรับคนที่รักสุขภาพ การดูแลเรื่องอาหารการกินเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้สุขภาพดี แต่เพื่อความอุ่นใจการมีประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย ที่ครอบคลุมทั้งค่ารักษาผู้ป่วยนอก หรือ OPD, ค่ารักษาผู้ป่วยใน หรือ IPD, ค่าชดเชยรายได้เมื่อนอนโรงพยาบาล หรือ HB ก็ช่วยเสริมความอุ่นใจในการใช้ชีวิตของคุณได้อย่างมีความสุขมากขึ้น คลิกเพื่อเลือกประกันสุขภาพ จาก เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิตที่เหมาะกับคุณได้ที่

*ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียด ความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง

ขอบคุณที่มาข้อมูล งานโภชนาการ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก