ในเมื่อจุดประสงค์ของการใช้เงินเรามีหลายแบบงั้นเราก็แยกบัญชีตามแต่ละจุดประสงค์ของการใช้เงินให้ชัดเจนไปเลย ไม่ว่าจะเป็น บัญชีไว้ใช้จ่ายส่วนตัว บัญชีไว้ซื้อของ บัญชีไว้เก็บเงิน และที่ขาดไม่ได้คือบัญชีสำหรับเงินสำรองฉุกเฉิน ซึ่งบัญชีสำหรับเงินฉุกเฉินนี้ให้เน้นไว้สำหรับการใช้ในเรื่องที่เกี่ยวกับสุขภาพเป็นหลัก เพราะการป่วยดูเหมือนจะเป็นอะไรที่เราควบคุมยากที่สุดแล้ว ไม่มีทางที่เราจะดุได้ว่าอาการเจ็บป่วยจะมาหาเราวันไหน แต่เมื่อไหร่ที่เราเจ็บป่วยขึ้นมาอย่างน้อยก็จะยังได้มีเงินจากบัญชีนี้ไว้ใช้ซึ่งเงินที่ควรมีอยู่ในบัญชีนี้ก็ควรมีเก็บไว้อย่างน้อย 3 เท่าของเงินเดือนก็จะอุ่นใจที่สุด
เปย์แบบที่เงินจมไปเยอะแล้ว มาลองการเปย์แบบที่จะช่วยให้เงินงอกเงยดูบ้างไหม ด้วยการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง เช่น บัญชีเงินฝากประจำ ตราสารหนี้ กองทุนระยะสั้น ที่มีระยะเวลาในการลงทุนไม่นานมาก ในแบบที่คุณสามารถวางแผนเพื่อนำเงินปันผลจากการลงทุนนั้น มาสะสมเก็บเอาไว้เพื่อใช้เป็นเงินฉุกเฉินสำหรับเรื่องสุขภาพ ซึ่งในส่วนของการเปย์ไปกับการลงทุนนั้น แนะนำให้แต่ละคนประเมินความเสี่ยงที่ตัวเองรับได้ดูก่อน เพราะทุกการลงทุนมีความเสี่ยง แต่การเสี่ยงนี้อย่างไรก็ช่วยให้คุณมีเงินเก็บเอาไว้ใช้ในยามจำเป็นได้แน่นอน
ใครเห็นด้วยบ้างกับประโยคที่ว่า “ถ้าต้องจ่ายเงินซื้อของที่ชอบใช้เวลาแค่ 3 วิ แต่ถ้าต้องจ่ายเงินซื้อของที่ยังคิดว่าไม่สำคัญใช้เวลาเป็นเดือน” ที่เป็นแบบนั้นก็เพราะว่าเราคิดว่าการได้ซื้อที่เราชอบ ของที่เราเล็งมานาน คือการซื้อความสุขให้กับตัวเอง กลับกันกับของที่เราอาจจะยังไม่ได้ให้ความสำคัญ เราก็เลยยังคิดว่า ซื้อเมื่อไหร่ก็ได้ เอาเงินที่มีตอนนี้ไปเปย์ให้กับของที่มอบความสุขให้ตัวเองก่อนดีกว่า ซึ่งการคิดแบบนั้น คุณอาจจะกำลังประมาทอยู่ก็ได้
เพราะเรื่องบางเรื่องที่ต้องใช้เงิน มักจะมาแบบที่เราไม่ทันตั้งตัวเสมอ โดยเฉพาะกับเรื่องสุขภาพ แล้วเราควรจะวางแผนการเงินอย่างไรดี ให้เรายังสามารถใช้เงินได้อย่างมีความสุข ไปพร้อมๆ กับการที่ยังจะมีเงินสำรองไว้ใช้ในยามเจ็บป่วย ในบทความนี้มีแนวทางให้กับคุณ