สุขภาพและกีฬา

กินให้สมองไบร์ท ห่างไกลซึมเศร้า

ป้องกันโรคซึมเศร้าให้อยู่หมัด ด้วยการดูแลสมองให้มากขึ้น ยิ่งในช่วงที่โควิดระบาดทำให้มีคน วิตกกังวล และเป็น “โรคซึมเศร้า” กันมากขึ้น ดังนั้นการกลับมาใส่ใจสุขภาพจิตใจ ด้วยการดูแลสมองเป็นพิเศษผ่านการเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยลดอัตราการเกิดโรคซึมเศร้า และทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีอาการดีขึ้นได้อีกด้วย

bright-brain1.jpg
สารอาหารที่ช่วยสร้างสารสื่อประสาท

การที่เราได้กินอาหารดีๆ ที่นอกจากจะให้พลังงานและช่วยให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว อาหารที่เรากินบางชนิดอาจจะมีสารอาหารที่ให้ผลในการช่วยซ่อมแซมเซลล์สมอง จากข้อมูลของดร.กมล ไชยสิทธิ์ นายกสมาคมโภชนาการและสมุนไพรเชิงบูรณาการ ได้เคยกล่าวว่า  

“โดยปกติแล้วอาหารมีส่วนช่วยในเรื่องระบบความจำ การบำรุงเซลล์ประสาท ซึ่งมีรายงานระบุว่า วิตามินบางชนิดเป็นตัวช่วยเรื่องการเจริญงอกงามของเซลล์สมอง แล้วยังมีเรื่องของสารสื่อประสาท เช่น คอปเปอร์ วิตามินซี วิตามินบี 6 รวมถึงกรดแอมิโนและโปรตีนบางชนิดเช่น ฟีนิลอะลานีน ,  ไทโรซีน เป็นต้น ซึ่งสารอาหารเหล่านี้เป็นตัวช่วยในการสร้างสารสื่อประสาทที่มีผลต่ออารมณ์หรือภาวะซึมเศร้า” 

และสารที่คนป่วยซึมเศร้าควรจะต้องรู้จักเลยนั่นก็คือ ทริปโตเฟน เพราะทริปโตเฟนจะมีผลต่อการสร้างเซโรโทนิน ซึ่งในคนที่เป็นซึมเศร้ามักจะมีระดับเซโรโทนินที่ต่ำกว่าปกติ เราจึงต้องมีการกินอาหารที่มีทริปโตเฟน เพื่อให้ทริปโตเฟนไปสร้างเซโรโทนินให้เพิ่มขึ้นมา
bright-brain2.jpg

วิธีเลือกอาหารที่ช่วยเยียวยาอาการซึมเศร้า

ด้วยข้อมูลนี้เองก็น่าจะพอให้เราได้พอรู้วิธีการที่จะช่วยเยียวยาภาวะความซึมเศร้านี้ได้ทั้งในคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า รวมทั้งคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เพื่อเป็นการดูแลตัวเองเบื้องต้น ด้วยการปรับพฤติกรรมการกิน เลือกทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเอง ได้แก่

1. กินอาหารให้หลากหลาย
การรับประทานมีพฤติกรรมให้มีความหลากหลายสามารถลดอาการของโรคซึมเศร้าได้

2. กินให้ครบ 5 หมู่ พร้อมต่อสู้ได้ทุกโรค
ซึ่งการกินให้ครบ 5 หมู่นั่นเรียกได้ว่าเป็นพื้นฐานของการมีร่างกายที่แข็งแรง แต่สำหรับคนที่เป็นซึมเศร้านั้น ยิ่งต้องเน้นเรื่องการทานให้ครบ โดยเฉพาะกับ 3 หมู่นี้ก็คือคาร์โบไฮเดรต : การกินคาร์โบไฮเดรตให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จะช่วยเพิ่มการดูดซึมทริปโตเฟน ให้มากพอที่จะสร้างเซโรโทนินต่อไปไขมัน : จำพวกไขมันที่ดีหรือโอเมก้า-3 ซึ่งจะจะส่งผลดีเกี่ยวข้องกับเรื่องกลไกของสมองโปรตีน : สามารถช่วยสร้างสารสื่อประสาท ทำให้สมองทำงานได้ตามปกติ


3. เพิ่มเติมสารอาหารอื่นๆ ที่สำคัญ
นอกเหนือจากสารอาหารต่างๆ ที่ร่างกายจะได้รับจากการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่แล้ว ยังควรต้องเพิ่มเติมสารอาอาหารอื่นๆร่วมด้วย เช่นวิตามิน : วิตามินซี และวิตามินบี มีผลต่อการทำงานของสมองช่วยในการสร้างสารสื่อประสาททองแดง : เป็นแร่ธาตุสำคัญ ที่ช่วยในเรื่องระบบสารสื่อประสาทและยังมีผลโดยตรงกับภาวะอารมณ์ ความรู้สึก หรือภาวะซึมเศร้า อีกด้วย โดยทองแดงนั้นจะอยู่ในอาหารเช่น ถั่วเมล็ดแห้ง อาหารทะเล ตับ หัวใจ และผักใบเขียวโพรไบโอติก : มีผลการวิจัยใหม่ๆ ที่ให้ข้อมูลว่าโพรไบโอติกบางชนิดมีผลต่อการควบคุมอาการซึมเศร้าและสารสื่อประสาทได้

bright-brain4.jpg
อาหารที่คนเป็นโรคซึมเศร้าควรหลีกเลี่ยง
มีข้อมูลทางระบาดวิทยาที่บ่งชี้ชัดเจนว่า อาหารมีความสำคัญต่อการเจ็บป่วยทางสุขภาพจิต การรับประทานมีพฤติกรรมบริโภคอาหารที่คงความหลากหลายสามารถลดอาการของโรคซึมเศร้าได้ ในขณะที่การมีพฤติกรรมรับประทานอาหารแปรรูป อาหารปรุงแต่งต่างๆ เช่น ขนมปัง เนื้อสัตว์แปรรูปบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เช่นเดียวกับผู้ที่เลือกอดอาหารบางประเภทเพื่อควบคุมน้ำหนัก กลับเพิ่มความเสี่ยงภาวะซึมเศร้ามากขึ้น

นอกจากการดูแลร่างกายในเรื่องของอาหารการกิน รวมทั้งพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงทั้งกายและใจแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่จะช่วยลดความกังวลในการใช้ชีวิตได้มากขึ้น นั่นก็คือการมีประกันสุขภาพ “เอฟดับบลิวดี พรีเชียส แคร์” แผนแซฟไฟร์ หรือ แผนไดมอนด์ ที่พร้อมมอบผลประโยชน์การดูแล และรักษาแบบเหมาจ่าย สูงสุด 100 ล้านบาท  มอบความคุ้มครองเพิ่มเติมในส่วนของค่ารักษาจิตเวช ตอบโจทย์สำหรับการใช้ชีวิตยุคนี้สุดๆ  ทำประกันเอาไว้ก็เป็นการช่วยตัดเรื่องกังวลใจได้อีกทางหนึ่ง ส่งผลให้สุขภาพจิตเราดีขึ้นได้ด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก กรมสุขภาพจิต