คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล และค่าชดเชยรายวันสำหรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID -19) ที่รักษาแบบ Home Isolation และ Community Isolation
แบบประกันสุขภาพใดบ้าง ที่ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสำหรับการดูแลรักษาแบบ Home Isolation หรือ Community Isolation
ประกันสุขภาพรายบุคคล และประกันกลุ่มที่มีความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยนอก (OPD) หรือค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยใน (IPD) หรือค่าชดเชยรายวันการเข้ารักษาในโรงพยาบาล (HB)
ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลและค่าชดเชยรายวันสำหรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID -19) ที่รักษาแบบ Home Isolation มีระยะเวลารอคอยหรือไม่
ประกันสุขภาพรายบุคคลปรับลดระยะเวลาไม่คุ้มครองหรือระยะเวลารอคอย (Waiting Period) จากเดิม 30 วันเหลือเพียง 14 วัน ตั้งแต่ 1 ส.ค. - 30 ก.ย. 64 สำหรับผลประโยชน์ค่าชดเชยรายวัน ยังคงเป็น 30 วันตามเงื่อนไขที่ระบุในกรมธรรม์
เอกสารที่ต้องใช้มีอะไรบ้าง และวิธีการเบิกค่ารักษาพยาบาล และ/หริอค่าชดเชยรายวันการเข้ารักษาในโรงพยาบาล (HB) ทำอย่างไร
หลักฐานประกอบการเบิกค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล หรือคลินิก ประกอบด้วย
• ภาพถ่าย Antigen Test Kit (ATK) / ใบรายงานผลตรวจ RT-PCR
• ใบเสร็จรับเงิน (กรณี HB ไม่ต้องส่งใบเสร็จรับเงิน)
• ใบรับรองแพทย์
• สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ป่วย และให้ระบุข้อความว่า “ยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลและประวัติการรักษาพยาบาล เพื่อให้ใช้ประกอบการเบิกค่าใช้จ่ายกับบริษัทประกัน” พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง การเบิกค่ารักษาพยาบาลดำเนินการได้ 2 แบบ
• ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องสำรองจ่าย (Cashless) – เอฟดับบลิวดีจ่ายค่ารักษาโดยตรงให้โรงพยาบาลในเครือข่ายตามวงเงินที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ (ตรวจสอบโรงพยาบาลในเครือข่าย คลิก)
• ผู้เอาประกันภัยสำรองจ่าย (Reimbursement) และส่งเอกสารเบิกรายการค่าใช้จ่ายมาที่เอฟดับบลิวดีภายหลัง
กรณีมีความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยใน (IPD) เท่านั้น สามารถเบิกค่ารักษาได้หรือไม่
อนุโลมจ่ายค่ารักษาพยาบาลแบบการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยนอก (OPD) ตามความจำเป็นทางการแพทย์และที่จ่ายจริงตามวงเงินผู้ป่วยใน (IPD) ไม่เกินผลประโยชน์ที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ โดยหักในรายการผลประโยชน์
• ค่ารักษาพยาบาลอื่นๆ
• ค่าแพทย์ตรวจรักษา
กรณีมีทั้งผลประโยชน์ค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยใน (IPD) และผลประโยชน์ค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยนอก (OPD) จะเบิกค่ารักษาอย่างไร และต้องใช้วงเงินไหนก่อน
ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลในความคุ้มครองกรณีผู้ป่วยนอก (OPD) ก่อน หากใช้วงเงินค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกเต็มสิทธิ์ อนุโลมจ่ายค่ารักษาพยาบาลแบบการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยนอก ตามความจำเป็นทางการแพทย์และที่จ่ายจริงตามวงเงินผู้ป่วยใน (IPD) ไม่เกินผลประโยชน์ที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ โดยหักในรายการผลประโยชน์
• ค่ารักษาพยาบาลอื่นๆ
• ค่าแพทย์ตรวจรักษา
กรณี Home Isolation หรือ Community Isolation สามารถยื่นเคลมค่าชดเชยรายวันได้ทุกกรณีหรือไม่ และมีเงื่อนไขในการยื่นเคลมอย่างไร
สามารถยื่นเคลมได้เฉพาะผู้ป่วยที่มีเอกสารแสดงว่าเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID -19) โดยแพทย์ผู้ดูแลรักษา และมีความจำเป็นทางการแพทย์ที่ต้องรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน (IPD) ในสถานพยาบาลแต่ไม่มีสถานพยาบาลรองรับ และได้รับการดูแลรักษาแบบ Home Isolation หรือ Community Isolation ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์แนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด เท่านั้น
ให้ความคุ้มครองค่าชดเชยรายวัน สูงสุด 14 วัน นับตั้งแต่วันที่มีความจำเป็นทางการแพทย์ที่ต้องรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในในสถานพยาบาล แต่ไม่มีสถานพยาบาลรองรับ และหลังจากนั้น เมื่อผู้เอาประกันภัยเข้ารับการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในในสถานพยาบาล กรมธรรม์ประกันภัยก็จะให้ความคุ้มครองค่าชดเชยรายวันตามเงื่อนไขของสัญญาประกันภัยที่มีอยู่ต่อไป
รายการค่ารักษาพยาบาลที่รักษาใน Home Isolation หรือ Community Isolation ที่สามารถเบิกได้ มีอะไรบ้าง
รายการที่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้ มีดังต่อไปนี้
1. ค่าตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID -19)
• เบิกได้ทั้งการตรวจหาเชื้อแบบ RT-PCR และ ATK โดยต้องเป็นการตรวจจากโรงพยาบาล หรือหน่วยงานของรัฐ
• การเบิกค่าใช้จ่าย ต้องมีเอกสารแสดงผลการตรวจและใบเสร็จรับเงิน ที่ออกจากสถานพยาบาหรือหน่วยงานของรัฐ
• ค่าใช้จ่ายเบิกได้ตามจริงแต่ไม่เกินรายการผลประโยชน์ที่ระบุในกรมธรรม์
2. ค่าดูแลการให้บริการผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID -19) โดยเป็นค่าดูแลรักษา ค่ายาพื้นฐาน ค่าติดตามประเมินอาการ การให้คำปรึกษา ทั้งนี้ ค่าอาหาร 3 มื้อ ไม่อยู่ในรายการคุ้มครองการอนุโลมจ่ายเป็นผู้ป่วยนอก
การลงรายการเบิกค่าใช้จ่ายตามตารางผลประโยชน์ ให้ลงตามหมวดรายการค่าใช้จ่ายที่เป็นจริง ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล และค่าแพทย์ตรวจรักษา
3. ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์
รายการที่คุ้มครอง : ปรอทวัดไข้แบบดิจิทัล เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด และอุปกรณ์อื่นๆ ที่จำเป็น โดยจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายตามรายการอุปกรณ์ที่ใช้จริง และไม่เกินตารางผลประโยชน์กรมธรรม์
รายการที่ไม่คุ้มครอง : ค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment : PPE) หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกระบวนการ หรืออุปกรณ์อื่นเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
4. ค่ายาที่เป็นการรักษาเฉพาะผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) โดยจ่ายตามจริง ไม่เกินผลประโยชน์ที่ระบุ
ในกรมธรรม์
5. ค่าพาหนะรับส่งผู้ป่วย ระหว่างที่พักและหน่วยบริการ
รายการที่คุ้มครอง : กรณีรับส่งจาก Home Isolation หรือ Community Isolation เพื่อไปเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลสนาม / Hospitel / โรงพยาบาล และย้ายจากโรงพยาบาลสนาม / Hospitel / โรงพยาบาล มายัง Home Isolation หรือ Community Isolation รายการที่ไม่คุ้มครอง : ค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment : PPE) รวมค่าทำความสะอาดฆ่าเชื้อพาหนะ
6. ค่าบริการถ่ายภาพรังสีทรวงอก (Chest X-ray)
สามารถเบิกค่าอาหาร 3 มื้อ ระหว่างรักษาแบบ Home Isolation หรือ Community Isolation ได้หรือไม่
ไม่สามารถเบิกได้ เนื่องจากค่าอาหาร 3 มื้อ ไม่รวมในรายการคุ้มครองการอนุโลมจ่ายเป็นผู้ป่วยนอก
หากซื้อชุดตรวจ ATK มาตรวจเอง หรือเครื่องวัดออกซิเจนในเลือดมาใช้เองสามารถเบิกรวมในค่ารักษาพยาบาลได้หรือไม่
ไม่สามารถเบิกได้ เนื่องจากการเบิกค่าตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID -19) หรือเครื่องวัดออกซิเจนในเลือด ต้องมีเอกสารแสดงผลการตรวจและใบเสร็จรับเงินที่ออกจากสถานพยาบาล หรือหน่วยงานของรัฐ
ผลประโยชน์ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสำหรับการดูแลรักษาแบบ Home Isolation หรือ Community Isolation บังคับใช้ถึงเมื่อไหร่
มีผลบังคับใช้ถึง 31 ต.ค. 2564 ตามคำสั่งนายทะเบียนของคปภ. 55/2564 ลงวันที่ 30 ก.ย. 2564
หากไม่ได้ลงทะเบียนการรักษาแบบ Home Isolation หรือ Community Isolation สามารถเบิกได้หรือไม่
ต้องมีการลงทะเบียนเข้าสู่ระบบการรักษาแบบ Home Isolation หรือ Community Isolation เนื่องจากการเบิกค่าใช้จ่าย ต้องมีเอกสารแสดงผลการตรวจและใบเสร็จรับเงิน ที่ออกจากสถานพยาบาล หรือหน่วยงานของรัฐ
“ลักษณะผู้มีความจำเป็นทางการแพทย์ที่ต้องรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในในสถานพยาบาล” ที่สามารถเบิกความคุ้มครองค่าชดเชยรายวันการเข้ารักษาในโรงพยาบาล (HB) ระหว่างรักษาแบบ Home Isolation หรือ Community Isolation จำกัดเฉพาะ 3 กรณีตามประกาศเท่านั้นหรือไม่
เป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องครบทุกข้อ และไม่จำกัดเฉพาะ 3 กรณีนี้เท่านั้น กรณีอื่นๆ ควรเป็นไปตามคำวินิจฉัยของแพทย์ ซึ่งจะพิจารณาจากความจำเป็นทางการแพทย์
ไม่พบสิ่งที่คุณต้องการค้นหา?
ติดต่อเราด้วยช่องทางที่คุณสะดวกมากที่สุด
แชตกับฟี่