คุ้มครองเท่ากันแต่จ่ายเบี้ยฯ ไม่เท่ากัน เพราะเป็นประกันชีวิตคนละประเภท อย่าเพิ่งรีบเลือกประกันที่ถูกที่สุดจนกว่าจะได้รู้เงื่อนไข
ประกันชีวิตมีกี่ประเภท
ประกันชีวิตแต่ละประเภทมีรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ทำให้ค่าเบี้ยประกันที่จ่ายก็แตกต่างกันไปด้วย ประกันชีวิตแบ่งเป็น 4 ประเภทหลักๆ คือ
ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term insurance) เหมาะสำหรับคนที่ต้องการสร้างความคุ้มครอง เตรียมเงินไว้ให้คนข้างหลังสำหรับตั้งตัว แต่มีงบประมาณจำกัด เพราะเบี้ยประกันถูกว่าประกันในแบบอื่นๆ ในขณะที่วงเงินความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตเท่ากัน แต่ประกันประเภทนี้มีข้อจำกัดตรงที่เป็นการจ่ายเบี้ยทิ้งและไม่มีเงินคืนกรณีมีชีวิตนั่นเอง
คุ้มครองตลอดชีพตั้งแต่ 90-99 ปี ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขตามกรมธรรม์ คุ้มครองทั้งกรณีผู้เอาประกันมีชีวิตเมื่อครบกำหนดสัญญา และเสียชีวิตก่อนครบกำหนดสัญญา (บริษัทประกันจ่ายเงินชดเชยให้ผู้รับประโยชน์)
ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole life insurance) เหมาะสำหรับคนที่ต้องการสร้างความคุ้มครองระยะยาว เป็นหลักประกันและเงินมรดกให้คนข้างหลัง ใครที่อยากออมแบบยาวๆ ไม่อยากเผลอตัว เผลอใจ หยิบมาใช้ระหว่างทาง นอกจากนี้ประกันชีวิตแบบตลอดชีพยังเหมาะที่จะนำไปแนบสัญญาสุขภาพเพิ่มเติม เพราะประกันชีวิตแบบตลอดชีพคุ้มครองในระยะเวลาที่นาน ค่าเบี้ยประกันคงที่ตลอดสัญญาและสบายกระเป๋า
ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Saving insurance) เหมาะกับคนที่ต้องการสร้างวินัยทางการออม มีเป้าหมายในการออมอย่างชัดเจน และมองหาประกันชีวิตเพื่อนำมาลดหย่อนภาษี โดยประกันชีวิตสะสมทรัพย์ที่มีอายุกรมธรรม์มากกว่า 10 ปีขึ้นไป สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000บาท ตามเงื่อนไขที่สรรพากรกำหนด
ประกันชีวิตแบบบำนาญเน้นผลตอบแทนหลังเกษียณมากกว่าความคุ้มครอง โดยผู้เอาประกันจะได้รับเงินบำนาญหลังจากเกษียณ เช่น อายุ 55 หรือ 60 ปี ทุกๆ ปี หรือทุกๆ เดือน ตั้งแต่เริ่มเกษียณจนถึงอายุ 85 ปี ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของกรมธรรม์
ประกันชีวิตแบบบำนาญต่างจากประกันประกันชีวิตสะสมทรัพย์ ตรงที่ไม่มีการจ่ายผลประโยชน์ก่อนวันรับบำนาญยกเว้นกรณีเสียชีวิต ประกันชีวิตแบบบำนาญจึงเหมาะใช้เป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงหลังเกษียณ สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 200,000 บาท หากไม่มีประกันสะสมทรัพย์สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บาท ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด
นอกจากนี้ยังมีประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit Linked) ที่ให้ทั้งความคุ้มครองชีวิตและการลงทุนในกองทุนรวม ซึ่งให้โอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากการลงทุนอีกด้วย ที่นี้ก็รู้แล้วว่าประกันแต่ละประเภทมีรูปแบบความคุ้มครองที่ต่างกันด้วยเหตุนี้จึงทำให้ค่าเบี้ยประกันของประกันแต่ละแบบมีค่าเบี้ยประกันที่แตกต่างกันนั่นเอง ดังนั้นการเลือกซื้อประกันที่เหมาะสมจึงควรเลือกที่วัตถุประสงค์ตรงความต้องการ ค่าเบี้ยประกันที่ถูกที่สุด อาจจะไม่ใช่คำตอบของทุกคนนั่นเอง
เอฟดับบลิวดีมีประกันหลากหลายรูปแบบ ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของคุณ อ่านเพิ่มเติม คลิกที่นี่
*ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียด ความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
คำถามที่พบบ่อย