พูดไม่เก่ง แสดงออกไม่เป็น ถ้าอยากให้กำลังใจคนที่คุณรักและห่วงใยที่กำลังป่วยด้วยโรคมะเร็ง ควรเริ่มต้นอย่างไรดี
แม้ผู้ป่วยจะกำลังใจดี และการรักษาเป็นไปด้วยดีแค่ไหน ก็ยังมีบางวันที่รู้สึกเหนื่อยและท้อแท้ได้ ดังนั้นหากคุณต้องการให้กำลังใจผู้ป่วยและครอบครัว อันดับแรกเลยคุณต้องหัดสังเกตสถานการณ์ และควรให้ความสำคัญกับคำพูดหรือการแสดงออกที่อาจจะกระทบกระเทือนจิตใจของผู้ป่วยและครอบครัวได้ แล้วคำพูดหรือการแสดงออกแบบไหนที่ทำให้เกิดความลำบากใจบ้าง? เรามีคำแนะนำว่าอะไรควรพูด อะไรไม่ควรพูด เพื่อนำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม
วิธีให้กำลังใจผู้ป่วยมะเร็งอย่างสร้างสรรค์
“ถ้าเป็นฉันจะทำแบบนี้….” หรือ “ทำไมไม่รักษาแบบนี้” หรือ “ทำไมไม่หาหมอคนนี้” คำพูดทำนองนี้เป็นการเป็นการสร้างแรงกดดันให้กับผู้ป่วยและครอบครัว เพราะคุณกำลังไปบอกเค้าว่า การตัดใจสินของเขาไม่ถูกต้อง ในความเป็นจริงคุณไม่ควรพยายามที่จะแก้ไขปัญหาให้เขา โดยการตัดสินว่าสิ่งที่เค้าเลือกเป็นทางเลือกที่ผิด
คุณควรฟังอย่างตั้งใจ และเข้าใจในสิ่งที่เขาต้องการจะบอก ความรู้สึกที่เขาต้องการจะสื่อสารและเลือกใช้คำถามปลายเปิดเพื่อแสดงออกถึงความสนใจ เช่น “แล้วคุณหมอให้คำแนะนำเรื่องนี้ว่าอย่างไร”
คำแนะนำในการพูดให้กำลังใจเหล่านี้ สามารถใช้พูดกับผู้ป่วยโรคร้ายแรงอื่นๆ ได้ทุกโรค รวมไปถึงโรคซึมเศร้า และผู้ที่กำลังประสบกับความทุกข์ และการสูญเสียคนที่รักไป ความเจ็บปวดลักษณะนี้ไม่ได้หายไปได้ง่ายๆ ไม่ต้องกังวลว่าคุณจะไปพูดอะไรที่ไม่ดีเข้าจนถึงขนาดไม่พูดอะไรเลย แทนที่จะเงียบไปลองเปลี่ยนเป็นการให้กำลังใจเล็กๆ น้อยๆ ที่ทำให้เขารู้ว่าเราอยู่ข้างเขาเสมอ รับฟังความทุกข์ใจที่เขากำลังเผชิญอยู่ และสุดท้ายแล้วทุกคนก็ล้วนต้องการกำลังใจกันทั้งนั้น
นอกจากเรื่องกำลังใจแล้ว คุณอาจจะได้ยินผู้ป่วยและครอบครัวเล่าให้ฟังเรื่องค่ารักษาที่แพงหูฉี่ในระดับที่แตะหลักล้านได้ไม่ยาก หากคุณเองรู้สึกหวั่นๆ ใจว่าถ้าหากเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับเราและครอบครัวหละ จะหากทางออกอย่างไรดี ทางเลือกที่น่าสนใจคือการทำประกันคุ้มครองโรคมะเร็งแบบมีเงินก้อนให้ทันทีที่ตรวจพบเพื่อที่สามารถนำเงินก้อนนั้นมาวางแผนในการรักษาได้อย่างรวดเร็ว และมีค่ารักษาคีโม ฉายแสงเพื่อการรักษาที่ต่อเนื่อง