ในทุก ๆ ปี บุคคลที่มีเงินได้จะต้องยื่นแบบภาษีต่อกรมสรรพากร ซึ่งในแต่ละปีจะได้เงินคืนภาษีที่แตกต่างกันออกไปตามสิทธิลดหย่อนภาษีต่าง ๆ ซึ่งบางคนอาจจะได้เงินคืนภาษีหลักหมื่นเลยทีเดียว วันนี้เราเลยจะมาแนะนำไอเดียการนำเงินภาษีที่ได้คืนไปต่อยอด ว่าจะเอาเงินไปลงทุนทำอะไรดี ถึงจะสร้างทั้งเงินและสร้างความสุขให้กับตนเองได้
เทคนิค ‘เงินต่อเงิน’ คือ การนำเงินไปลงทุนเพิ่มในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อต่อยอดผลตอบแทนให้เพิ่มมากขึ้น โดยให้เงินทำงานแทน ซึ่งวิธีนี้กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน อีกทั้งยังสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับเป้าหมายและความเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยตัวอย่างการลงทุนที่แนะนำมีดังนี้
สำหรับคนที่ยังไม่รู้ว่าจะเอาเงินทุนจากภาษีเงินคืนไปทำอะไรดี สามารถใช้วิธีนำเงินไปฝากธนาคารเอาไว้ เพื่อใช้เป็นทุนสำรองในยามฉุกเฉิน เป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยให้เงินก้อนของคุณปลอดภัยและได้รับดอกเบี้ยตอบแทน
เงินจากภาษีเงินคืนไปลงทุนอะไรดี อีกหนึ่งไอเดียที่คุณสามารถนำไปใช้ได้ก็คือ การนำเงินไปลงทุนด้านความรู้ให้กับตนเอง ที่จะช่วยเพิ่มพูนทักษะและความสามารถในด้านต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลดีต่อทั้งชีวิตส่วนตัวและการทำงาน ไม่ว่าจะเป็น การซื้อคอร์สเพิ่มทักษะในเรื่องที่เราสนใจ หรือการฝึกอบรมจากสถาบันต่าง ๆ รวมถึงการนำไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น เช่น ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก เพื่อให้มีความรู้และทักษะที่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน เป็นต้น
เหนื่อยกาย เหนื่อยใจจากการทำงานมาทั้งปี เมื่อได้เงินภาษีคืนกลับมาทั้งทีก็ต้องเอาไปลงทุนกับความสุขสักหน่อย ด้วยการไปท่องเที่ยวเพื่อเปิดประสบการณ์ใหม่ ๆ ในโลกกว้าง จะเลือกเดินทางไปต่างจังหวัดที่ไม่เคยไป หรือไปเที่ยวต่างประเทศที่เล็งมานานว่าอยากไปก็ได้ตามต้องการ
ได้เงินคืนภาษีทั้งที แต่ยังไม่รู้ว่าจะนำไปลงทุนอะไรดี อาจนำมาใช้เติมเต็มความสุขให้กับตัวเองก็แฮปปี้ได้ไม่น้อยเลย จะนำเงินไปซื้อของที่อยากได้ หรือจะเลือกซื้อของขวัญชิ้นสำคัญให้กับคนที่เรารักก็เติมเต็มได้สุด ๆ เพราะนอกจากจะได้รับความสุขทางใจแล้ว ยังจะได้รับความสุขเป็นรอยยิ้มจากผู้รับอีกด้วย
ได้รู้ไอเดียในการนำเงินภาษีที่ได้คืนไปต่อยอดกันแล้ว แต่หากใครยังไม่เข้าใจว่าเงินคืนภาษี คืออะไร เป็นเงินในส่วนไหน และทำไมเราถึงได้คืน ไปหาคำตอบกัน
เงินคืนภาษี คือ เงินส่วนที่ถูกหักไปมากกว่ามูลค่าภาษีที่ต้องจ่ายจริง ซึ่งเราสามารถคำนวณจากรายได้สุทธิของผู้เสียภาษีและค่าลดหย่อนภาษี ต่าง ๆ ที่ผู้เสียภาษีมีสิทธิได้รับ
สมมติว่า มีรายได้สุทธิในปี 2566 จำนวน 1,000,000 บาท และได้จ่ายภาษีไว้ทั้งหมด 150,000 บาท แต่มีสิทธิได้รับค่าลดหย่อนภาษีต่าง ๆ รวมเป็นจำนวน 100,000 บาท ดังนั้น ภาษีที่ต้องเสียจริงจะเหลือเพียง 50,000 บาท ซึ่งน้อยกว่าภาษีที่ได้ชำระไว้ 100,000 บาท
โดยเราจะได้รับเงินคืนภาษีจากกรมสรรพากรจำนวน 100,000 - 50,000 = 50,000 บาท
สำหรับเงินคืนภาษีที่จะได้คืน จะถูกโอนเข้าบัญชีเงินฝากพร้อมเพย์ ของผู้เสียภาษีที่ระบุไว้ในแบบแสดงรายการภาษีภายใน 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแบบแสดงรายการภาษี
สำหรับคนที่ได้เงินคืนภาษีแล้ว อย่าปล่อยให้สูญเปล่า อย่าลืมนำเงินไปสร้างความสุขให้ตนเอง จะนำไปลงทุนต่อหรือซื้อประกันเพิ่มเติมก็ถือว่าเป็นไอเดียที่ดีไม่น้อยเลย แต่หากใครสนใจซื้อประกันชีวิตลดหย่อนภาษี จาก FWD เรายังให้คุณจ่ายเบี้ยประกันในราคาเบา ๆ แต่ได้รับความคุ้มครองยาวนาน สามารถซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ได้ง่าย ๆ เพื่อให้คุณตัดสินใจซื้อได้โดยไม่ต้องคิดหนัก เพื่อความสุขได้ง่าย ๆ ในทุกวันกับการใช้ชีวิตในไลฟ์สไตล์ตามที่คุณต้องการ
แหล่งอ้างอิง
● ขอเงินคืนภาษี. สืบค้นวันที่ 3 พ.ย. 2566. จาก https://www.rd.go.th/63437.html
● เงินคืนลดหย่อนภาษี ควรนำไปลงทุนอะไรต่อ? ถึงจะได้กำไรคุ้มสุด. สืบค้นวันที่ 3 พ.ย. 2566. จาก https://www.kasikornasset.com/th/market-update/Pages/04-knowledge-Getting-a-Tax-Refund-Consider-Investing-It-apr23.aspx
● ขอเงินคืนภาษี. สืบค้นวันที่ 3 พ.ย. 2566. จาก https://www.itax.in.th/pedia/การขอเงินคืนภาษี/