ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “โรคมะเร็ง” ถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนทั่วโลก สถิติมะเร็งล่าสุดในปี 2566 พบว่า มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ในประเทศไทย มีประมาณ 140,000 คนต่อปี และมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 80,000 คนต่อปี หลายๆคนคิดว่ามะเร็งไม่มีโอกาสรักษาหาย แต่ความจริงแล้วมะเร็งเป็นกลุ่มโรคที่มีความหลากหลาย และมีระยะที่แตกต่างกันออกไป และหากตรวจพบโรคได้เร็วก็มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ บทความนี้เราขอชวนทุกคนมารู้จักกับ 5 ประเภทของมะเร็งที่ตรวจพบมากที่สุดในคนไทย พร้อมรู้ทัน 7 สัญญาณเตือนที่บ่งชี้ความเสี่ยงโรคมะเร็ง มาดูกันว่า มะเร็งมีกี่ชนิด และอาการผิดปกติที่ควรระวัง มีอะไรบ้าง เพื่อให้เราสังเกตุตัวเองและรู้ทันโรคมะเร็งร้าย
โรคมะเร็งตับ เป็นมะเร็งที่พบได้มากที่สุดเป็นอันดับ 1 โดยมักพบได้ในคนที่มีอายุระหว่าง 30-70 ปี และมักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงประมาณ 2-3 เท่า เนื่องจากเพศชายเป็นกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง ซึ่งในช่วงแรกเริ่ม มะเร็งตับมักไม่แสดงอาการ ทำให้กว่าที่ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจวินิจฉัย ระยะของโรคมะเร็งก็มักอยู่ในช่วงที่มีความร้ายแรง ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดในการรับมือกับโรคมะเร็งตับ ก็คือการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และช่วยให้สามารถเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที
โรคมะเร็งเต้านม คืออีกหนึ่งประเภทของมะเร็งที่พบได้บ่อยในไทย โดยเพศหญิงมักมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ และเมื่ออายุมากขึ้น ความเสี่ยงก็ยิ่งเพิ่มขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ สิ่งที่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้มาก่อนก็คือ โรคมะเร็งเต้านม ไม่ได้เป็นโรคที่เกิดขึ้นในเพศหญิงเพียงอย่างเดียว แต่เพศชายเองก็มีโอกาสเป็นได้เช่นเดียวกัน
โรคมะเร็งปอด ถือว่าเป็นโรคมะเร็งร้ายแรงที่หลายคนมักมองข้ามไป เพราะในระยะแรกเริ่มที่เป็น อาการจะค่อนข้างคล้ายคลึงกับวัณโรค เช่น ไอเรื้อรัง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ซึ่งต้องอาศัยการตรวจอย่างละเอียดเพิ่มเติม เพื่อบ่งชี้ว่าเป็นโรคมะเร็งปอด ดังนั้น หากใครที่คนในครอบครัวมีประวัติป่วยด้วยโรคมะเร็งปอด หรือมีอาการไอเรื้อรังมาเป็นเวลานาน ร่วมกับอาการผิดปกติอื่น ๆ ที่น่าสงสัย ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยโดยเร็วที่สุด
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นประเภทของมะเร็งที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตลำดับต้น ๆ ของผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด โดยมะเร็งชนิดนี้เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย โดยเฉพาะวัยทำงาน และมักพบได้มากที่สุดในกลุ่มคนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตาม ถึงแม้มะเร็งลำไส้ใหญ่จะเป็นโรคที่อันตราย แต่หากเราเข้ารับการตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ และหมั่นตรวจเช็กความผิดปกติเกี่ยวกับการขับถ่ายของตัวเอง ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษา ทำให้มีโอกาสหายขาดได้มากขึ้น
โรคมะเร็งปากมดลูก คือหนึ่งในโรคมะเร็งที่ผู้หญิงทั่วโลกหวาดกลัว โดยมะเร็งชนิดนี้พบได้ในผู้หญิงอายุระหว่าง 30-70 ปี ซึ่งในระยะแรกเริ่ม ผู้ป่วยจะไม่มีอาการใด ๆ แต่เมื่อโรคมีความรุนแรงมากขึ้น จะเริ่มมีอาการผิดปกติต่าง ๆ เช่น ประจำเดือนมาหลายวันผิดปกติ, มีเลือดออกแม้อยู่ในวัยหมดประจำเดือน, มีตกขาวจำนวนมาก มาพร้อมกับกลิ่นผิดปกติ และในบางรายอาจมีอาการปวดท้องน้อยหรืออุ้งเชิงกรานร่วมด้วย ดังนั้น เมื่อไหร่ก็ตามที่รู้สึกถึงความผิดปกติเหล่านี้ ต้องรีบเข้าพบสูตินรีแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาโดยด่วน
เมื่อเราได้รู้จักกับ 5 ประเภทของมะเร็งที่พบได้บ่อยในประเทศไทยกันไปแล้ว เรามาดูกันว่า ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง มีอะไรบ้าง เพื่อที่เราจะได้หาวิธีหลีกเลี่ยงปัจจัยเหล่านี้ และช่วยให้เราใช้ชีวิตได้อย่างอุ่นใจ ห่างไกลจากโรคมะเร็ง
● กรรมพันธุ์
โรคมะเร็งที่เกิดจากกรรมพันธุ์ ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงภายในร่างกายที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่เราสามารถรับมือได้ด้วยการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเป็นประจำ ร่วมกับการดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายแรง และช่วยให้เราสามารถวางแผนการรักษาได้โดยเร็ว
● ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ภาวะระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เกิดจากร่างกายของเรา ซึ่งหากระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ก็จะทำให้เรามีโอกาสป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ได้ง่าย ไม่ใช่แค่โรคมะเร็งเพียงอย่างเดียว ดังนั้น เราจึงต้องหมั่นออกกำลังกาย และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงอยู่เสมอ
● การติดเชื้อไวรัสต่าง ๆ
โรคมะเร็งนั้นถือว่าเป็นโรคที่มีความซับซ้อน เพราะมีกระบวนการหลายขั้นตอนที่ทำให้เซลล์ปกติในร่างกาย กลายไปเป็นเซลล์มะเร็งที่ร้ายแรงได้ หนึ่งในนั้นก็คือการติดเชื้อไวรัสต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัจจัยที่เข้ามากระตุ้นให้เซลล์เกิดความผิดปกติ เช่น ไวรัส HPV ที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก และไวรัสตับอักเสบที่เป็นสาเหตุของมะเร็งตับ
● พฤติกรรมการรับประทานอาหาร
รู้หรือไม่ พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เราอาจทำโดยไม่รู้ตัวในแต่ละวัน ก็ถือเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้เช่นเดียวกัน เช่น การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง, อาหารรสจัด, เนื้อสัตว์แปรรูป รวมถึงการรับประทานอาหารประเภทปิ้งย่าง หรืออาหารที่ผ่านการทอดซ้ำหลาย ๆ ครั้ง
● การดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่จัด
แอลกอฮอล์และบุหรี่ เป็นปัจจัยหลัก ๆ ของการเกิดโรคมะเร็งหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ หรือมะเร็งเต้านม และยังเป็นสาเหตุของความผิดปกติในร่างกายหลากหลายประการ ที่อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต การหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์และบุหรี่ จึงเป็นวิธีที่จะช่วยรักษาทั้งกายและใจของเราให้แข็งแรง พร้อมช่วยป้องกันการเกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆ ได้อย่างดีที่สุด
นอกจากปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง อีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่เราต้องรู้ให้ทัน ก็คือ “ความผิดปกติของร่างกาย” ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่า เรากำลังมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งชนิดใดชนิดหนึ่ง หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดโดยทันที
1. เป็นแผลเรื้อรัง รักษาไม่หาย
2. ระบบขับถ่ายผิดปกติ
3. กลืนอาหารลำบาก
4. มีก้อนนูนผิดปกติบนร่างกาย
5. มีเลือดออกผิดปกติตามจุดต่าง ๆ
6. ไอเรื้อรัง เสียงแหบ
7. ไฝหรือหูดมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือมีอาการอักเสบ
เพิ่มความอุ่นใจในการใช้ชีวิต บริหารความเสี่ยง พร้อมเข้าถึงการรักษาโรคร้ายโดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายด้วยการซื้อประกันมะเร็งเจอจ่ายจบ FWD Easy E-Cancer ที่ให้ความคุ้มครองสูงสุด 2 ล้านบาท ให้คุณรับเงินก้อนไปรักษาตามแนวทางที่ต้องการ ให้คุณพร้อมรับมือกับทุกโรคมะเร็ง ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น เพิ่มโอกาสรักษาให้หายขาด เบี้ยเริ่มต้นเพียงหลักร้อย คุ้มครองสูงสุดถึงหลักล้าน ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครออนไลน์ได้เลย
ข้อมูลอ้างอิง:
1. สว.สุนี วอนกระทรวงสาธารณสุข รณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงภัยจากโรคมะเร็ง. สืบค้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.tpchannel.org/news/23204
2. อัปเดต 5 อันดับ 'โรคมะเร็ง' ที่พบมากในคนไทย ปี 2566. สืบค้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.bangkokbiznews.com/corporate-moves/health/well-being/1080368
3. มะเร็งที่พบบ่อยในคนไทย. สืบค้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.princsuvarnabhumi.com/articles/common-cancer