สุขภาพและกีฬา

รู้ทัน 5 มะเร็งในผู้หญิง สัญญาณเตือนเพื่อลดความเสี่ยง

FWD Thailand

เพราะจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นมากในช่วงหลายปี และเป็นโรคร้ายที่มีความเสี่ยงหลากหลาย ทั้งจากการพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต โรคมะเร็งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ หรือวัยสูงอายุ  โดยเฉพาะในผู้หญิงอย่างเรา ที่นอกจากจะต้องระวังโรคมะเร็งทั่วไปที่พบได้บ่อยแล้ว ยังต้องใส่ใจกับมะเร็งที่เกี่ยวกับโรคทางนรีเวช วันนี้เราขอชวนผู้หญิงทุกคนมารู้จักกับ 5 มะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิง พร้อมแนวทางการป้องกันเพื่อให้ห่างไกลจากโรคร้าย

5 มะเร็งที่พบมากในผู้หญิง และวิธีสังเกตุเพื่อลดความเสี่ยง

จากข้อมูลสถิติล่าสุดปี 2566 ของกระทรวงสาธารณสุขพบมะเร็งสตรี 5 อันดับแรก ที่พบมากให้ผู้หญิงเพื่อให้เราสังเกตุและหาวิธีป้องกันโรคร้ายแรงได้ทันท่วงที

1. มะเร็งตับและท่อน้ำดี

มะเร็งตับและท่อน้ำดี เป็นมะเร็งที่พบมากได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย เกิดจากเซลล์มะเร็งที่เติบโตผิดปกติในบริเวณตับและท่อน้ำดี แบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลัก ดังนี้

มะเร็งตับ เกิดจากเซลล์ในเนื้อตับที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็ง

มะเร็งท่อน้ำดี เกิดจากเซลล์เยื่อบุผิวภายในท่อน้ำดีที่มีการเปลี่ยนแปลงและเจริญเติบโตผิดปกติจนเป็นเนื้อร้าย

มีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ ที่มาจากการรับประทานอาหารปลาดิบที่ปนเปื้อนตัวพยาธิใบไม้ในตับ เช่น ปลาตะเพียน ปลาขาว ปลาแก้มช้ำ ปลาสร้อย ปลากระสูบ

อาการในระยะแรกที่พบส่วนใหญ่ จะมีอาการแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นประจำ อ่อนเพลีย ปวดหรือเสียดชายโครงขวา อาจคลำพบก้อนในช่องท้อง ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องโต และมีอาการบวมบริเวณขาทั้ง 2 ข้าง หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยรักษามะเร็งที่เหมาะสม

2. มะเร็งปอด

มะเร็งปอด เป็นโรคมะเร็งในผู้หญิงที่มีความร้ายแรงและอัตราการเสียชีวิตสูง เกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์ภายในปอดอย่างผิดปกติและไม่สามารถควบคุมได้ โดยมีสาเหตุหลักมาจากการสูบบุหรี่ ควันบุหรี่มือสอง หรือการสัมผัสสารก่อมะเร็งในอุตสาหกรรม เช่น แร่ใยหิน โครเมียม แก๊สเรดอน

ในระยะเริ่มแรกผู้ป่วยมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อลุกลามจะมีอาการไอเรื้อรัง ไอมีเสมหะปนเลือด หายใจลำบาก หายใจสั้น มีอาการหอบเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ หากสังเกตอาการและพบว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

3. มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้หญิงไทย ผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเป็นได้ โดยความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป คนที่มีประจำเดือนมาเร็ว ทำให้หมดช้า คนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม หรือคนที่มีประวัติการเป็นมะเร็งรังไข่ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมเพิ่มมากขึ้น

หากคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรหมั่นสังเกตอาการด้วยตนเอง เช่น จากการคลำเต้านมและใต้รักแร้เป็นประจำ เพื่อดูว่าพบก้อนแปลกปลอมหรือไม่ การสังเกตขนาดหรือรูปร่างของเต้านมที่เปลี่ยนแปลงไป อาการเจ็บหน้าอกข้างซ้ายหรือขวาบริเวณเต้านม ผิวหนังที่เต้านมบุ๋มลงไป หรือมีน้ำเหลืองไหลออกจากหัวนม หากพบอาการดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย จะมีสิทธิ์รักษาให้ดีขึ้นได้เร็ว

4. มะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นมะเร็งที่ยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัด แต่พบว่าอาจเกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน โดยเฉพาะพฤติกรรมการกินอาหารที่มีไขมันสูง ไม่กินผัก ดื่มน้ำน้อย มีอาการท้องผูกบ่อย ดื่มเหล้าและสูบบุหรี่จัด รวมถึงคนไม่ออกกำลังกายและมีภาวะอ้วน เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

ในระยะเริ่มแรก ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่มักไม่แสดงอาการที่ชัดเจน แต่เมื่อโรคเริ่มลุกลาม มักจะมีอาการที่อาจพบได้ เช่น อาการท้องเสีย ท้องผูกหรือท้องอืด ไม่สบายท้อง รวมทั้งการปวดแสบร้อน อาหารไม่ย่อย และปวดเกร็ง ลักษณะอุจจาระมีความเปลี่ยนแปลงไป เช่น เรียวยาวกว่าปกติ หรือเป็นเม็ด ๆ อุจจาระปนเลือดสด ๆ หรือเลือดสีคล้ำมาก เป็นต้น

5. มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบมากในผู้หญิง มีสาเหตุส่วนใหญ่จากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) เป็นไวรัสที่ติดต่อผ่านการสัมผัสทั้งจากการมีเพศสัมพันธ์ การร่วมเพศทางปาก (Oral sex) และการร่วมเพศทางทวารหนัก นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ อีกมาก เช่น การเปลี่ยนคู่นอนบ่อย คู่นอนมีเพศสัมพันธ์กับคนอื่น เป็นผู้ที่มีเชื้อ HPV หรือป่วยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มาก่อน หากเข้าข่ายปัจจัยเหล่านี้อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงขึ้น

อาการแสดงเริ่มต้นของมะเร็งปากมดลูก คือ ประจำเดือนมามากหรือนานกว่าปกติ มีตกขาวปริมาณมาก หรือมีความผิดปกติ เลือดออกขณะหรือหลังมีเพศสัมพันธ์ แต่ในบางรายอาจไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น ดังนั้น ผู้หญิงจึงควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกร่วมกับการตรวจหาไวรัส HPV ทุก ๆ 3-5 ปี โดยสามารถเริ่มตั้งแต่ช่วงอายุ 21 ปีขึ้นไปหรือหลังมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกก็ได้เช่นกัน

Cancer-insurace-women-type.jpg

แนวทางการดูแลตัวเอง เพื่อป้องกันให้ห่างไกลโรคมะเร็ง

นอกจากการตระหนักถึงภัยร้าย โรคมะเร็งที่พบมากในผู้หญิงแล้ว การดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเอง เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ห่างไกลโรคมะเร็งได้ดีที่สุด

  • ตรวจคัดกรองมะเร็งเป็นประจำ หากตรวจพบเชื้อมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มต้น จะทำให้เข้ารับการรักษาได้เร็ว และเพิ่มโอกาสในการรักษาโรคมะเร็งให้หายขาดได้
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เน้นรับประทานผัก ผลไม้หลากสี และธัญพืช และควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทเนื้อสัตว์รมควัน ปิ้ง ย่าง ทอดจนไหม้เกรียม อาหารรสจัด อาหารหมักดอง
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ช่วยเสริมให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรง ต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย
  • เลิกสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุหลักของมะเร็งปอด และยังเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งชนิดอื่น ๆ อีกหลายชนิด
  • สังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ของร่างกายอย่างสม่ำเสมอ หากตรวจพบอาการผิดปกติ ควรเข้าพบแพทย์โดยด่วน

มาวางแผนรับมือกับโรคมะเร็งร้ายในผู้หญิง และเพิ่มความอุ่นใจด้วยประกันออนไลน์โรคร้ายแรง Big 3 จาก FWD

ที่คุ้มครองครอบคลุม 3 กลุ่มโรคร้ายแรง อันดับต้นๆ ที่พบบ่อยในไทย ทั้งกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด และกลุ่มโรคเกี่ยวกับสมองและระบบประสาท รวมถึงคุ้มครองครอบคลุมโรคมะเร็ง เพิ่มความอุ่นใจให้กับการดูแลสุขภาพ ทั้งยังเป็นแผนสำรองลดความกังวลในเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล

✔   แผนประกันโรคร้ายแรง เจอ จ่าย เต็ม100%

✔    คุ้มครอง สูงสุดถึง 2,000,000 บาท

✔    เบี้ยประกันคงที่ 5 ปี ตามอายุเบี้ยแรกเข้า ลดหย่อนภาษีได้

✔     ยื่นเคลมง่ายๆ รับเงินก้อนภายใน 15 วัน

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมผ่านเว็บไซต์ และสมัครออนไลน์ได้เลย

ข้อมูลอ้างอิง:

  1. มะเร็งสตรี รู้ก่อน รักษาไว มีโอกาสหาย ป้องกันได้ คุณภาพชีวิตดี. สืบค้นวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.chaophya.com/2023/04/มะเร็งสตรี/
  2. แนะ 7 วิธีป้องกันมะเร็ง สามารถเริ่มต้นได้ที่ตนเอง ควบคู่การตรวจคัดกรองมะเร็งทุกปี. สืบค้นวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.thaihealth.or.th/แนะ-7-วิธีเลี่ยงป้องกัน/