ข้อดีของฤดูฝน คือช่วยลดความร้อนระอุของสภาพอากาศ แต่ข้อควรระวังคืออาจเกิดโรคระบาดบวกกับมีอาการเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ กระทบการใช้ชีวิตประจำวัน มาสร้างเกราะป้องกันให้ร่างกายด้วยความรู้เท่าทันกับ 5 โรคที่มากับหน้าฝน ลดความกังวลใจ จากอาการเจ็บป่วยที่ไม่อยากเจอ
1. โรคไข้หวัดใหญ่ และกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ
ในฤดูฝนมักมีการระบาดของไข้หวัดใหญ่ ควรสร้างภูมิคุ้มกันโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ด้วยการฉีดวัคซีน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น สตรีตั้งครรภ์ เด็กเล็ก และผู้สูงอายุ รวมไปถึงผู้ที่มีโรคประจำตัวและโรคเรื้อรัง เป็นต้น
อาการโรคไข้หวัดใหญ่ ที่สังเกตเห็นได้ชัดคือ มีไข้สูง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีน้ำมูก ไอ เจ็บคอ รวมทั้งมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ร่วมด้วย ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการ หอบเหนื่อย ปอดอักเสบ มีไข้สูงแล้วชัก
วิธีการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ คือ ล้างมือบ่อย ๆ ใส่หน้ากากอนามัย ป้องกันเชื้อโรค เมื่ออยู่ในที่สาธารณะ และฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี เพื่อเสริมเกราะป้องกันให้ร่างกาย กระตุ้นภูมิคุ้มกันไปในตัว
2. โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน
โรคนี้สาเหตุหลักของโรคอุจจาระร่วง ท้องเสียเฉียบพลัน คือเพราะอาหารปรุงสุกที่ซื้อมา หากมีการเก็บไม่ถูกวิธีอาจจะมีการปนเปื้อนเชื้อโรค หรือเชื้อจุลินทรีย์ที่มากับฝนได้
อาการที่พบบ่อย คือมีอาการท้องเสียเฉียบพลัน, ขับถ่ายบ่อย, ถ่ายเหลวเป็นน้ำ บางคนอาจมีไข้และมีอาการปวดบิดในท้องร่วมด้วย
วิธีการป้องกันโรคอุจาระร่วง คือการทานอาหารปรุงสุกสดใหม่ และล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสหรือทานอาหาร เพื่อลดความเสี่ยงในการทำให้อาหารปนเปื้อน
3. โรคฉี่หนู
โรคฉี่หนูเป็นโรคที่ติดเชื้อผ่านทางบาดแผลหรือเยื่อบุผิวหนัง พบได้บ่อยครั้งในช่วงฤดูฝน เพราะมีการเดินลุยน้ำท่วมขังโดยไม่ทันระวังตัว
อาการของโรคไข้ฉี่หนู ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อบริเวณน่องและโคนขา หากไม่รักษาทันท่วงทีอาจเสี่ยงเป็นดีซ่าน ไตวาย ช็อกเฉียบพลัน
วิธีการป้องกันโรคฉี่หนู คือเลี่ยงการเดินลุยน้ำท่วมขังด้วยเท้าเปล่า ดูแลรักษาร่างกายไม่ให้เกิดบาดแผลเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย และอาบน้ำ ทำให้สะอาดตัวทันทีเมื่อจำเป็นต้องลุยฝน
4. โรคไข้เลือดออก
หน้าฝนคือฤดูที่ยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรค สามารถแพร่พันธุ์ตามแหล่งน้ำขังได้เร็วและไวมากที่สุด หากไม่ระมัดระวังตัวเองอาจโดนยุงลายที่เป็นพาหะโรคไข้เลือดออกกัดได้
อาการของโรคไข้เลือดออก ส่วนใหญ่จะคล้ายกับการติดเชื้อไวรัสทั่วไป ผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดกระดูก มีไข้สูงติดต่อกันเกิน 3 - 7 วัน จากนั้นไข้จะเริ่มลดลงและมี อาการเลือดออกผิดปกติ มือเย็นเท้าเย็น
วิธีการป้องกันโรคไข้เลือดออก คือควรเลี่ยงการอยู่ใน ที่อับชื้น ที่มืด, ที่มีน้ำท่วมขัง, ใช้ยากันยุงทา ป้องกันยุงกัด และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
5. โรคตาแดง
ในวันที่ต้องเดินตากฝน โดนละอองฝน แล้วเผลอขยี้ตาบ่อย ๆ อาจทำให้เชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในน้ำฝนเข้าสู่ร่างกายง่ายดาย นำไปสู่การติดเชื้อโรคตาแดง
อาการของโรคตาแดง ผู้ป่วยจะมีอาการคันตา เยื่อบุตาแดง เคืองตา
วิธีการป้องกันโรคตาแดง คือเลี่ยงการใช้มือสัมผัสดวงตาโดยตรง เช่นการขยี้ตา, ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอในแต่ละวัน เพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้ดวงตา หมั่นล้างมือบ่อย ๆ และไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกันผู้อื่น
ไม่ว่าจะฤดูหนาว ฤดูร้อน เจอฝนตกหรือเผชิญกับสภาพอากาศแปรปรวน การดูแลร่างกายให้แข็งแรง พร้อมสู้กับทุกเชื้อโรคต่าง ๆ ด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และหมั่นดูแลความสะอาดในการใช้ชีวิตประจำวัน พร้อมกับเพิ่มความคุ้มครองเพื่อเติมความอุ่นใจ เมื่อเวลาเจ็บป่วยฉุกเฉินก็สามารถเข้ารักษาตัวได้ทันทีด้วยเอฟดับบลิวดี พรีเชียส โพรเทคชัน คุ้มครองเหมาจ่ายสูงสุด 100 ล้านบาทต่อปี จะเจ็บป่วยเล็กน้อย รับยาแล้วกลับบ้าน ได้เลยแบบ OPD หรือป่วยต้องนอนพักรักษาตัว IPD ก็ครอบคลุมให้สบายใจ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
________________________________________
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ