สุขภาพและกีฬา

เปิดค่ารักษาโรคหัวใจ พร้อมวิธีรับมือกับค่าใช้จ่าย

FWD Thailand

“โรคหัวใจ” เป็นหนึ่งในโรคร้ายแรงสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ของโลก และด้วยความเข้าใจผิดที่ว่าโรคหัวใจมักเกิดกับผู้สูงอายุ ทําให้หลายคนคิดว่าเป็นโรคที่ไกลตัว ความจริงแล้วโรคหัวใจสามารถเกิดได้กับทุกเพศ ทุกวัย รวมถึงวัยรุ่นและวัยทํางานด้วยเช่นกัน เพื่อเตรียมพร้อมรับมือหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน บทความนี้จะพามาสํารวจค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคหัวใจ พร้อมแนะนําวิธีเตรียมตัวรับมือกับค่าใช้จ่ายในการรักษาเพื่อลดความเสี่ยง

รู้ทันโรคหัวใจ: สาเหตุและสัญญาณเตือน

โรคหัวใจ คืออะไร?

โรคหัวใจ (heart disease) คือ ภาวะความผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับหัวใจ จนส่งผลกระทบทำให้หัวใจทำงานผิดปกติ ซึ่งโรคหัวใจนั้นสามารถแบ่งออกได้หลายประเภท เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ, โรคหลอดเลือดหัวใจ, โรคลิ้นหัวใจตีบ, โรคหัวใจล้มเหลว และ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

สาเหตุของโรคหัวใจ

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจอยู่แล้ว และยังมีโอกาสเกิดขึ้นกับคนทั่วไป โดยมี ปัจจัยจากการรับประทานอาหารเสริมบางชนิด รวมถึงการดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน

โรคหลอดเลือดหัวใจ

โดยทั่วไปแล้ว โรคหลอดเลือดหัวใจเกิดขึ้นจากไขมันหรือแคลเซียมที่สะสมอยู่เป็นจำนวนมากในหลอดเลือด จนทำให้เลือดไม่สามารถไหลไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้เพียงพอ และยังมีสาเหตุมาจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น โรคประจำตัว, ภาวะน้ำหนักเกิน และการสูบบุหรี่จัด

โรคลิ้นหัวใจตีบ

สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับลิ้นหัวใจมาแต่กำเนิด และยังเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากโรคอื่น ๆ เช่น โรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ หรือ โรคไข้รูมาติก

โรคหัวใจล้มเหลว

โรคหัวใจล้มเหลว มีทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง โดยโรคหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันอาจเกิดได้จากอาการเส้นเลือดหัวใจตีบ หรือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง และโรคหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง อาจเกิดจากภาวะลิ้นหัวใจตีบที่ไม่ได้รับการรักษา หรือ การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เกิดจากภาวะความผิดปกติของหัวใจที่เกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการที่ผู้เป็นแม่ติดเชื้อหัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์ หรือเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมในครอบครัว

5 สัญญาณเตือนโรคหัวใจที่ต้องเฝ้าระวัง

อย่างที่เราได้กล่าวไปในข้างต้นว่า โรคหัวใจนั้นเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ไม่ใช่เฉพาะผู้สูงอายุหรือคนที่มีโรคประจำตัวเพียงอย่างเดียว ดังนั้น เราจึงต้องเฝ้าระวังอาการผิดปกติที่อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคหัวใจ ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มอาการดังต่อไปนี้

1. รู้สึกเจ็บหน้าอกข้างซ้าย คล้ายกับมีอะไรมาทับ

2. เหนื่อยง่าย หายใจไม่สะดวก

3. ขาหรือเท้าบวมผิดปกติทั้ง 2 ข้าง

4. รู้สึกใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ไม่สม่ำเสมอ

5. รู้สึกวิงเวียนและมีเหงื่อออกมากผิดปกติ คล้ายจะเป็นลม

ชวนส่องค่ารักษาโรคหัวใจ หนึ่งในโรคร้ายแรงที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ของโลก พร้อมแนะนำวิธีรับมือกับค่าใช้จ่าย เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

เปิดค่ารักษาโรคหัวใจ พร้อมรับมือกับค่าใช้จ่าย

นอกจากโรคหัวใจจะเป็นโรคร้ายที่มีความเสี่ยงรุนแรง การรักษาก็ต้องใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย จึงทําให้ค่าใช้จ่ายสูงตามไปด้วย บทความนี้จะพามาสํารวจค่ารักษาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น มาดูกันว่า ค่ารักษาโรคหัวใจโดยประมาณ อยู่ที่เท่าไรบ้าง

● ค่าทำบอลลูนหัวใจ ราคาประมาณ 185,000 บาท

● ค่าผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ราคาประมาณ 800,000 บาท

● ค่าใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ ราคาเริ่มต้นที่ 792,000 บาท

● ค่าผ่าตัดบายพาสหัวใจ ราคาเริ่มต้นที่ 650,000 บาท

● ค่าผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ ราคาเริ่มต้นที่ 770,000 บาท

*ข้อมูลจากโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ ปี 2567

**ราคาค่ารักษาโรคหัวใจที่ปรากฏเป็นเพียงราคาโดยประมาณ อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้

เตรียมตัวอย่างไรเพื่อรับมือกับค่ารักษาโรคหัวใจแบบไม่เจ็บหนัก

จะเห็นได้ว่าการรักษาโรคหัวใจมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นเมื่อเกิดอาการผิดปกติกับหัวใจ ควรเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน สําหรับการเตรียมความพร้อมค่าใช้จ่ายในการรักษาก็เป็นสําคัญที่ต้องวางแผนสำรองไว้ เพื่อป้องกันความเสี่ยง

คำตอบก็คือ การเลือกทำประกันโรคร้ายแรง ที่คุ้มครองค่ารักษาโรคหัวใจ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายนั่นเอง โดยข้อดีของการทำประกันโรคร้ายแรงก็คือ เบี้ยประกันที่มีราคาย่อมเยาเพียงหลักพัน แต่มาพร้อมกับความคุ้มครองสูงถึงหลักล้าน ยิ่งถ้าหากเราทำตั้งแต่อายุยังน้อย เบี้ยประกันก็จะยิ่งถูกลง แถมยังเป็นเบี้ยประกันแบบคงที่ ไม่ว่าจะอายุเพิ่มขึ้นอีกกี่ปี เบี้ยประกันก็ยังคงเท่าเดิม

นอกจากนี้ ประกันโรคร้ายแรงยังเป็นตัวช่วยให้เราได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว ด้วยตัวเลือกที่ดีที่สุด เพราะไม่ว่าค่ารักษาโรคหัวใจจะอยู่ที่เท่าไร เราก็สามารถตัดสินใจรักษาได้ทันที เพราะมีประกันช่วยจ่าย และที่ดีไปกว่านั้นก็คือ วัยทำงานอย่างเรา ยังสามารถนำเบี้ยประกันไปใช้ลดหย่อนภาษี ทำให้เรามีเงินเหลือเก็บเหลือใช้ได้มากขึ้นอีกด้วย

ทำประกันโรคหัวใจกับ FWD แม้เจอโรคร้ายก็อุ่นใจ กับแผนประกันออนไลน์ Easy E- Heart ที่คุ้มครองแบบเจอจ่ายจบ เบี้ยเริ่มต้นเพียงหลักพัน แต่มอบความคุ้มครองสูงถึงหลักล้าน ยื่นเคลมก็ง่าย รับเงินก้อนภายใน 15 วัน เปรียบเทียบแผนความคุ้มครองผ่านเว็บไซต์ และซื้อออนไลน์ได้เลย

ข้อมูลอ้างอิง:

1. "โรคหัวใจ" สัญญาณเตือน ปัจจัยเสี่ยง และวิธีรักษาป้องกัน. สืบค้นวันที่ 24 มกราคม 2567 จาก https://www.paolohospital.com/th-TH/center/Article/Details/-โรคหัวใจ--สัญญาณเตือน-ปัจจัยเสี่ยง-และวิธีรักษาป้องกัน

2. โรคหัวใจมีหลายประเภทที่คุณควรรู้. สืบค้นวันที่ 24 มกราคม 2567 จาก https://www.bangkokhearthospital.com/content/heart-disease


แท็ก
แชร์